กระบวนการที่ก่อให้เกิดฝนกรดนั้น เริ่มต้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ การเผาไหม้คือปฏิกิริยาเคมีที่ออกซิเจน (oxygen: O2) ในอากาศรวมตัวกับคาร์บอน (carbon: C) , ไนโตรเจน (nitrogen: N) , ซัลเฟอร์ (sulfur: S) และสารอื่น ๆ ที่ประกอบอยู่ในสารที่เกิดการเผาไหม้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซนั้นเราเรียกว่าก๊าซออกไซด์ โดยเมื่อใดก็ตามสิ่งที่ถูกเผาไหม้นั้น มีไนโตรเจนหรือซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบด้วยแล้ว ก็จะเป็นผลทำให้สารออกไซด์เหล่านี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้ ในประเทศอเมริกา 70% ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดมาจากโรงงานไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในแคนาดา อุตสาห์กรรมบางอย่าง เช่นการกลั่นน้ำมัน การหลอมโลหะ ก่อสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงถึง 61% ส่วนไนโตรเจนออกไซด์นั้น เกิดได้จากมากมายหลายแหล่ง เนื่องจากสารอินทรีย์หลาย ๆ ชนิดมักจะมีไนโตรเจนประกอบอยู่ โดยควันพิษจากรถยนต์นั้นกินส่วนแบ่งเยอะที่สุด อย่างไรก็ตามแหล่งการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ที่สำคัญอีกแหล่งก็คือ การเผาศพเมื่อก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์เข้าสู่บรรยากาศแล้ว จะทำปฏิกิริยากับไอน้ำและสารเคมีอื่น ๆ ในบรรยากาศ ก่อให้เกิดกรดซัลฟูริก กรดไนตริกและสารผลพิษอื่น ๆ ประเภทไนเตรดและซัลเฟต โดยสารเหล่านี้อาจละลายตัวลงไปในฝน แล้วตกลงมาพร้อมกัน
ฝนกรด
ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของvโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5
แก๊สออกไซด์ของอโลหะที่ทำให้เกิดฝนกรด ได้แก่
แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์
แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน เช่น แก๊สไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ และแก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์
แก๊สออกไซด์ของคาร์บอน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แหล่งที่ปล่อยแก๊สทำให้เกิดฝนกรด
แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เกิดจากการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งไอเสียรถยนต์ ในธรรมชาติจากปล่องภูเขาไฟ การย่อยสลายพืช
แก๊สออกไซด์ ของไนโตรเจน เกิดจากเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ควันเสียรถยนต์ ควันเสียจากโรงงานแบตเตอรี่ รวมทั้งควันจากไฟไหม้ป่า
ผลกระทบของฝนกรด
สร้างความเสียหายต่อแหล่งน้ำ พืช สัตว์ป่า และคน ถ้า pH ของน้ำในทะเลสาบลดลงต่ำกว่า 5 จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นตาย
ปัจจุบันพบว่าปลาแซลมอนที่เคยมีอยู่จำนวนมาก ในประเทศนอร์เวย์ ลดจำนวนลงมากจนใกล้สูญพันธุ์
นอกจากนี้ฝนกรดจะทำลายคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ผลสุดท้ายก็จะตายในที่สุด
ในมณฑลเสฉวนประเทศจีนพบว่ามีต้นข้าวในนากลายเป็นสีเหลือง และตันสนในพื้นที่ 6000 ไร่ เหี่ยวเฉา และความเป็นกรดของฝนยังมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ เช่น แหล่งน้ำที่เคย
ดื่มเคยใช้เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ทำให้มีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร และยังมีผลต่อผิวหนังทำให้ระคายเคือง
ดื่มเคยใช้เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ทำให้มีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร และยังมีผลต่อผิวหนังทำให้ระคายเคือง
สร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิต
ฝนกรดสามารถกัดกร่อนอาคารที่สร้างด้วยหิน โดยเฉพาะหินปูนและหินอ่อนและวัสดุที่เป็นเหล็ก ทำให้ผุกร่อนเร็วกว่าปกติ ปฏิกิริยาเคมีของการเกิดฝนกรด
น้ำฝน + แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ------------------> กรดซัลฟิวรัส
น้ำฝน + แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ ------------------> กรดซัลฟิวริก
น้ำฝน + แก๊สไดไนโตรเจนออกไซด์ ------------------> กรดไนตรัส
น้ำฝน + แก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์ -------------> กรดไนตริก
น้ำฝน + แก๊สไนโตรเจนออกไซด์ ---------> กรดไนตรัส + กรดไนตริก
น้ำฝน + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ----------------> กรดคาร์บอนนิก
ที่มา: http://learners.in.th/file/dee-do-op/acid-base12_clip_image002_0002.gif
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น