วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันโอโซนโลก

ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น

เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2.เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา:
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm

การเกิดฝนกรด

กระบวนการที่ก่อให้เกิดฝนกรดนั้น เริ่มต้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ การเผาไหม้คือปฏิกิริยาเคมีที่ออกซิเจน (oxygen: O2) ในอากาศรวมตัวกับคาร์บอน (carbon: C) , ไนโตรเจน (nitrogen: N) , ซัลเฟอร์ (sulfur: S) และสารอื่น ๆ ที่ประกอบอยู่ในสารที่เกิดการเผาไหม้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซนั้นเราเรียกว่าก๊าซออกไซด์ โดยเมื่อใดก็ตามสิ่งที่ถูกเผาไหม้นั้น มีไนโตรเจนหรือซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบด้วยแล้ว ก็จะเป็นผลทำให้สารออกไซด์เหล่านี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้ ในประเทศอเมริกา 70% ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดมาจากโรงงานไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในแคนาดา อุตสาห์กรรมบางอย่าง เช่นการกลั่นน้ำมัน การหลอมโลหะ ก่อสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงถึง 61% ส่วนไนโตรเจนออกไซด์นั้น เกิดได้จากมากมายหลายแหล่ง เนื่องจากสารอินทรีย์หลาย ๆ ชนิดมักจะมีไนโตรเจนประกอบอยู่ โดยควันพิษจากรถยนต์นั้นกินส่วนแบ่งเยอะที่สุด อย่างไรก็ตามแหล่งการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ที่สำคัญอีกแหล่งก็คือ การเผาศพเมื่อก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์เข้าสู่บรรยากาศแล้ว จะทำปฏิกิริยากับไอน้ำและสารเคมีอื่น ๆ ในบรรยากาศ ก่อให้เกิดกรดซัลฟูริก กรดไนตริกและสารผลพิษอื่น ๆ ประเภทไนเตรดและซัลเฟต โดยสารเหล่านี้อาจละลายตัวลงไปในฝน แล้วตกลงมาพร้อมกัน

ฝนกรด
ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของvโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5
แก๊สออกไซด์ของอโลหะที่ทำให้เกิดฝนกรด ได้แก่
แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์   แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์
 แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน เช่น แก๊สไดไนโตรเจนไตรออกไซด์   แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์   และแก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์
แก๊สออกไซด์ของคาร์บอน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แหล่งที่ปล่อยแก๊สทำให้เกิดฝนกรด
แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เกิดจากการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งไอเสียรถยนต์ ในธรรมชาติจากปล่องภูเขาไฟ การย่อยสลายพืช
แก๊สออกไซด์ ของไนโตรเจน เกิดจากเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ควันเสียรถยนต์ ควันเสียจากโรงงานแบตเตอรี่ รวมทั้งควันจากไฟไหม้ป่า 
ผลกระทบของฝนกรด
สร้างความเสียหายต่อแหล่งน้ำ พืช สัตว์ป่า และคน ถ้า pH ของน้ำในทะเลสาบลดลงต่ำกว่า 5 จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นตาย
ปัจจุบันพบว่าปลาแซลมอนที่เคยมีอยู่จำนวนมาก ในประเทศนอร์เวย์ ลดจำนวนลงมากจนใกล้สูญพันธุ์
นอกจากนี้ฝนกรดจะทำลายคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ผลสุดท้ายก็จะตายในที่สุด
ในมณฑลเสฉวนประเทศจีนพบว่ามีต้นข้าวในนากลายเป็นสีเหลือง และตันสนในพื้นที่ 6000 ไร่ เหี่ยวเฉา และความเป็นกรดของฝนยังมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ เช่น แหล่งน้ำที่เคย
ดื่มเคยใช้เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ทำให้มีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร และยังมีผลต่อผิวหนังทำให้ระคายเคือง
สร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิต
ฝนกรดสามารถกัดกร่อนอาคารที่สร้างด้วยหิน โดยเฉพาะหินปูนและหินอ่อนและวัสดุที่เป็นเหล็ก ทำให้ผุกร่อนเร็วกว่าปกติ ปฏิกิริยาเคมีของการเกิดฝนกรด
น้ำฝน + แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์      ------------------> กรดซัลฟิวรัส
น้ำฝน + แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์    ------------------> กรดซัลฟิวริก
น้ำฝน + แก๊สไดไนโตรเจนออกไซด์  ------------------> กรดไนตรัส
น้ำฝน + แก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์   -------------> กรดไนตริก
น้ำฝน + แก๊สไนโตรเจนออกไซด์  ---------> กรดไนตรัส + กรดไนตริก
น้ำฝน + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  ----------------> กรดคาร์บอนนิก    
ที่มา: http://learners.in.th/file/dee-do-op/acid-base12_clip_image002_0002.gif

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฤทธิ์พายุรามสูรฝนตกหนักท่วมเมืองนครพนม


เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครพนม ว่า ได้เกิดฝนตกหนักเนื่องจากอิทธิพลพายุรามสูร ทำให้ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ตั้งแต่ช่วงเช้ามืด ถึงรุ่งเช้าวันนี้ ส่งผลให้น้ำท่วมในพื้นที่ย่านธุรกิจกลางเมืองนครพนม และอีกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะถนนสายหลัก เช่น ถนนอภิบาลบัญชา ถนนราชทัณฑ์ เรื่อยไปจนถึงโรงเรียนอนุบาลนครพนม และโรงพยาบาลนครพนม
นายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม กล่าวว่า ได้ระดมเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายผลเรือน (อปพร.) จนท.เทศกิจกว่า 20 นาย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่รวม 7 จุด กลางเมือง 3 จุด และริมฝั่งแม่น้ำโขง 4 จุด เพื่อเร่งระบายน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงอย่างทันท่วงที แต่ยังพบน้ำท่วมขังในบางจุด สาเหตุอาจเกิดจากมีถุงพลาสติกและสิ่งปฏิกูลไปอุดท่อระบายน้ำ ไหลระบายไม่ทันจึงทำให้ทำท่วมฉับพลันดังกล่าว
ที่มา:http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=728564

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประกาศปิดอ่าว 3 จังหวัดฝั่งอ่าวไทยห้ามทำประมงฤดูวางไข่

ชุมพร - 3 จังหวัดฝั่งอ่าวไทยตอนบน ประกอบด้วย ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ประกาศปิดอ่าวหยุดทำการประมงจับสัตว์น้ำช่วงฤดูปลาวางไข่ 3 เดือน รวมพื้นที่กว่า 16 ล้านไร่
วันนี้ ( 13 ก.พ.) ที่สะพานปลาชายหาดปากน้ำชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร นายชวลิต ชูขจร ปลักกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีประกาศปิดอ่าวฝั่งทะเลอ่าวไทยในท้องที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ชุมพร และพื้นที่บางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคมประจำปี 2557 รวมพื้นที่ 3 จังหวัด 26,400 ตร.กม. หรือประมาณ 16.5 ล้านไร่ ไว้เป็นพื้นที่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
จึงได้มีการประกาศห้ามใช้เครื่องมือบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนดังกล่าว เพื่อให้สัตว์น้ำทะเลได้แพร่ขยายพันธุ์ โดยมีนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผวจ.ชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มชาวประมงจากพื้นที่ 3 จังหวัด และนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการหยุดทำการประมงในฤดูปลาวางไข่ในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

นายชวลิต ชูขจร ปลักกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมประมงที่เก็บสำรวจในปีที่ผ่านมาพบว่า หลังฤดูปิดอ่าว มีความชุกชุมของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นถึง 1.44 เท่า โดยเฉพาะปลาทู ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 60,000 ตันต่อปี มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท จึงแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวสามารถช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้มีความยั่งยืน ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มชาวประมงและนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ได้ร่วมปล่อยพันธุสัตว์น้ำอีก จำนวน 5 ล้านตัว ลงสู่ท้องทะเลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
ที่มา: http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9570000017510

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปรากฏการณ์เอลนิโญ่

เอลนิโญเป็น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่กระแสน้ำอุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นใน บริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก(บริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์ เปรูและชิลีตอนเหนือ)ทำให้กระแสน้ำเย็นด้านล่างไม่สามารถหมุนวนขึ้นมาที่ บริเวณพื้นผิวทะเลได้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจึงสูงขึ้นทำให้อากาศเหนือบริเวณดัง กล่าวลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆฝนบริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์เปรูและชิลีตอน เหนือ จึงชุ่มชื้นเพราะมีพายุและฝนตกมาก
ผลจากการที่กระแสคลื่นไหลไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกทำให้เกิดความกดอากาศ สูงเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในพื้นที่บริเวณชายฝั่งออสเตรเลีย อินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เกิด

เอลนิโญเป็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันออกบริเวณเส้นศูนย์สูตรปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อ สภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกซึ่งเป็นผลต่อไปยังภาวะเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศ รวมทั้งออสเตรเลีย อินโดนีเซียอินเดีย ตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา อเมริกาใต้อเมริกากลาง และ ตอนใต้ของยุโรป
โดยปกติอากาศที่อยู่เหนือกระแสน้ำอุ่นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าและมีความชื้นมากกว่า อากาศที่อยู่เหนือกระแสน้ำเย็นลมสินค้าในมหาสมุทรแปซิฟิกจะพัดจาก ทวีปอเมริกาใต้มายังทวีปเอเชียลมนี้จะช่วยพัดพากระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทร แปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรให้เคลื่อนที่จากฝั่งทวีปอเมริกาใต้ไปตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิกโดยผ่านชายฝั่งทวีปออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดพายุฝนขึ้นในบริเวณดังกล่าว


ส่วนทวีปอเมริกาใต้บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะแห้งแล้งไม่มีฝกตกเนื่องจากมีความชื้น น้อยแต่เมื่อเกิดความผิดปกติทางธรรมชาติขึ้นโดยกระแสน้ำอุ่นบริเวณเส้น ศูนย์สูตรไหลย้อนกลับไปจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไปตะวันออกและเข้าแทนที่ กระแสน้ำเย็นทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกร้อนกว่าน้ำทางมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันตกเป็นบริเวณกว้างส่งผลให้อากาศเหนือกระแสน้ำเย็นมีอุณหภูมิสูง ขึ้นและมีความชื้นมากขึ้นทำให้พื้นที่บริเวณทวีปอเมริกาใต้ซึ่งเคยแห้ง แล้งกลับมีฝนตกหนักเกิดพายุฝนฟ้าคะนองพายุนี้ก่อให้เกิดอากาศร้อนและมีความ ชื้นสูงแผ่ขึ้นเหนือท้องฟ้าและมีผลต่อระดับความสูงของกระแสลมยังผลให้อากาศ ทั่วโลกแปรปรวน
ที่มา:https://sites.google.com/site/xixaem/location-hours