สาเหตุของแผ่นดินถล่ม
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1.สาเหตุตามธรรมชาติ
2.สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
สาเหตุตามธรรมชาติ
- ความแข็งแรงของดิน
- โครงสร้างของแผ่นดิน ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
- ความลาดเอียงของพื้นที่
- ปริมาณน้ำฝน มีฝนตกมากเป็นเวลานานๆ (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ฤดูกาล
- ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง
- แผ่นดินไหว
- คลื่นสึนามิ
- ภูเขาไฟระเบิด
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน
- การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน
- การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
- การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อการเกษตร การสร้างถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน การทำเหมือง เป็นต้น
- การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
- การขุดดินลึกๆ เพื่อการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
- การบดอัดที่ดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
- การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน
- การถมดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เพิ่มน้ำหนักบนภูเขา หรือสันเขา
- การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก
- การทำอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขา และทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล
- การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล
- น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธารณะ
- การกระเทือนต่างๆ เช่น การระเบิดหิน
การเตรียมพร้อมและการป้องกัน
ก่อนเกิดเหตุ
- มีฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ระดับน้ำในห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่น แสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนานๆ มีเสียงดัง อื้ออึง ผิดปกติดังมาจากภูเขาและลำห้วย
ระหว่างเกิดเหตุ
- ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ควรอพยพ หรือให้หนีไปอยู่ที่สูงๆ และรีบแจ้งเรื่องให้ทราบทั่วกันโดยเร็ว
- ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะอาจจะโดนซากต้นไม้ หรือก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนตายได้ และหาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้
หลังเกิดเหตุ
- อย่าปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- อย่าตัดไม้ทำลายป่า และช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับน้ำ
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบๆ หมู่บ้าน เพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามสถานการณ์และข่าวการพยากรณ์อากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน อย่างใกล้ชิด
- สำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และ อุปกรณ์ฉุกเฉิน
แหล่งที่มาข้อมูล
กรมทรัพยากรธรณี . ดินถล่มคืออะไร. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554จาก http://www.dmr.go.th/dmr_data/geohazard/update_landslide/landslide_definition.htm
กรมอุตุนิยมวิทยา. แผ่นดินถล่ม (Land Slides). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=76
แผ่นดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Landslide
มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน. ดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=
กรมอุตุนิยมวิทยา. แผ่นดินถล่ม (Land Slides). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=76
แผ่นดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Landslide
มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน. ดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=
ควรเป็นบทความหรือข่าวสารที่ทันสมัยนะ
ตอบลบมีภาพและคลิปประกอบก็ดีนะ
blog เงียบไปนะ