วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลมมรสุม


เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า มรสุมหรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดูกาล (season) สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า มรสุมหรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดูกาล (season) สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
ที่มา: http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=52

 








วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเกิดฝน


ฝนเกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆ เมื่อรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน
ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก ไอน้ำจะรวมตัวทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว (Freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝนน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน หิมะ หรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้า ซึ่งมันจะตกลง มาในลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้น
พอฝนตกลงมาถึงพืน จะมีการไหลของฝนไปรวมตัวกันใต้ดิน ดูดซับไว้ที่ผิวดิน ลงแหล่งน้ำเป็นต้น
แสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาที่พื้นโลกจะทำให้ น้ำเหล่านี้ระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ประกอบกับไอน้ำที่ได้จากกิจกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่นการหายใจของพืช ไอน้ำในบรรยากาศนี้จะรวมตัวกันเป็นเมฆ และก่อให้เกิดฝนตามมาอีก เป็นวัฎจักรเช่นนี้เรื่อยไป
ที่มา:https://sites.google.com/site/chaipatcomputer/kar-keid-fn-3

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันสิ่งแวดล้อมโลก'ชวนปรับพฤติกรรมลด'ทำลายธรรมชาติ'


กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชวนลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับพฤติกรรมลดโลกร้อนในวันสิ่งแวดล้อมโลก ปรับพฤติกรรมใช้ชีวิต ยกระดับความคิดแก้วิกฤติน้ำท่วมโลก...
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 57 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมว่า ทุกวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ประเทศไทยโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดงานรณรงค์เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหวังให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำลายทรัพยากรธรรมชาติของโลก โดยงานวันสิ่งแวดล้อมโลกของไทยปีนี้เริ่มจัดงานมาแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.) ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 6 มิ.ย.ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ทั้งนี้ งานวันสิ่งแวดล้อมปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด : ยกระดับความคิด แก้วิกฤติน้ำท่วมโลก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น โดยสะท้อนปัญหาวิกฤติน้ำท่วมทั่วโลกผ่านทางการแสดงนิทรรศการ พร้อมแนะการปรับพฤติกรรมชีวิตประจำวันของประชาชนเพื่อช่วยชะลอและบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นผ่านนิทรรศการ ความเป็นมาของโครงการการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2556 และนิทรรศการผลงานของสตรีดีเด่น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในงานยังมีการออกร้านแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมจากผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองตราผลิตภัณฑ์ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ผักผลไม้ออร์แกนิค และ โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 150 ร้านค้ามาจำหน่ายและบริการแก่ประชาชนที่มาร่วมงาน.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/427430

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สาเหตุของแผ่นดินถล่ม การเตรียมพร้อมและการป้องกัน






สาเหตุของแผ่นดินถล่ม
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1.สาเหตุตามธรรมชาติ
2.สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
สาเหตุตามธรรมชาติ
- ความแข็งแรงของดิน
- โครงสร้างของแผ่นดิน ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
- ความลาดเอียงของพื้นที่
- ปริมาณน้ำฝน มีฝนตกมากเป็นเวลานานๆ (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ฤดูกาล
- ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง
- แผ่นดินไหว
- คลื่นสึนามิ
- ภูเขาไฟระเบิด
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน
- การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน
- การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป


สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
- การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อการเกษตร การสร้างถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน การทำเหมือง เป็นต้น
- การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
- การขุดดินลึกๆ เพื่อการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
- การบดอัดที่ดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
- การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน
- การถมดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เพิ่มน้ำหนักบนภูเขา หรือสันเขา
- การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก
- การทำอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขา และทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล
- การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล
- น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธารณะ
- การกระเทือนต่างๆ เช่น การระเบิดหิน

การเตรียมพร้อมและการป้องกัน
ก่อนเกิดเหตุ
- มีฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ระดับน้ำในห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่น แสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนานๆ มีเสียงดัง อื้ออึง ผิดปกติดังมาจากภูเขาและลำห้วย

ระหว่างเกิดเหตุ
- ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ควรอพยพ หรือให้หนีไปอยู่ที่สูงๆ และรีบแจ้งเรื่องให้ทราบทั่วกันโดยเร็ว
- ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะอาจจะโดนซากต้นไม้ หรือก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนตายได้ และหาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้
หลังเกิดเหตุ
- อย่าปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- อย่าตัดไม้ทำลายป่า และช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับน้ำ
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบๆ หมู่บ้าน เพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามสถานการณ์และข่าวการพยากรณ์อากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน อย่างใกล้ชิด
- สำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และ อุปกรณ์ฉุกเฉิน
แหล่งที่มาข้อมูล
กรมทรัพยากรธรณี . ดินถล่มคืออะไร. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554จาก http://www.dmr.go.th/dmr_data/geohazard/update_landslide/landslide_definition.htm
กรมอุตุนิยมวิทยา. แผ่นดินถล่ม (Land Slides). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=76
แผ่นดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Landslide
มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน. ดินถล่ม. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จาก http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=