วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน



การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การบำบัดน้ำเสีย การปลูกต้นไม้ ปลูกป่าชายเลน การทำฝายชะลอน้ำ ฟื้นฟูดิน และอีกมากมาย กลุ่มของพวกเราเลือกที่จะปลูกต้นไม้ สถานที่ปลูกคือ ที่สวนชอปเกษตรบริเวณริมรั้วของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ต้นไม้ที่เราปลูกคือต้นมะขามป้อมและต้นพะยอม เหตุผลที่พวกเราเลือกการปลูกต้นไม้เพราะเห็นว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ละเลยหรือให้ความสำคัญกับป่าไม้และต้นไม้น้อยมาก แต่พวกเราจำเป็นต้องมีต้นไม้ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจากต้นไม้หลายอย่าง ทั้งอาศัยออกซิเจน อาศัยร่มเงาความร่มเย็น และยังใช้ประโยชน์จากต้นไม้อีกหลายๆด้าน แต่กลับไม่ค่อยมีใครมาปลูกต้นไม้ทดแทน หรือช่วยกันอนุรักษ์ เพราะทุกวันนี้ยังมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่มาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ทุกวันนี้ทำให้หลายพื้นที่ต้องเจอกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ไฟป่า  แผ่นดินถล่ม เป็นต้น
การที่เราเลือกปลูกต้นไม้ที่บริเวณริมรั้วของโรงเรียนคือ
1.           ฟื้นฟูพื้นที่ตรงนี้ จากเดิมถูกปล่อยให้รกร้าง ซึ่งอาจทำให้สัตว์มีพิษมาอยู่อาศัยและทำอันตรายแก่นักเรียน
2.           ช่วยเพิ่มต้นไม้ใหญ่ให้กับโรงเรียน
3.           เพื่อในอนาคต จะเป็นร่มเงาแก่นักเรียน
4.           เสียทัศนียภาพของโรงเรียน
5.           ขาดคนดูแล

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภูมิศาสตร์ทางภาคใต้

ภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 70,715 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 14 จังหวัด แบ่งออกเป็น
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 
- ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล 
ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ 
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ 
1. เขตเทือกเขา  มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น 
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า 
- เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย 
- เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค 
- เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 
2. เขตที่ราบ ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว
ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้ 
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี
ที่มา: https://sites.google.com/site/geographyfunny/1-2

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภูมิประเทศภาคตะวันตก

ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาภาคตะวันตก  มีความคล้ายคลึงกับภาคเหนือคือมีภูเขาสูงๆสลับกับหุบเขาแคบๆเป็นแนวภูเขาที่สลับซับซ้อน และมีบริเวณส่วนหนึ่ง
ที่อยู่ติดกับทะเลในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิวเขาในภูมิภาค
เป็นแนวต่อเนื่องมาจากทิวเขาในภาคเหนือ ได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่     
-
แม่น้ำแควน้อย(แม่น้ำไทรโยค)
-
แม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์)ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง   
-
แม่น้ำเมย
-
แม่น้ำเพชรบุรี
-
แม่น้ำปราณบุรี 

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ๆ คือ
1.เขตเทือกเขา เป็นเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือใต้ตั้งแต่จังหวัดตากถึงประจวบคีรีขันธ์ เป็นแนวพรมแดน ธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับพม่า ที่สำคัญได้แก่ 
1.1 เทือกเขาถนนธงชัย 
1.2 เทือกเขาที่อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย 
1.3 เทือกเขาตะนาวศรี 
ระหว่างเทือกเขาต่างๆ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับอยู่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเหล่านี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก ที่เรียกว่า แอ่งกราเบน กลายเป็นหุบเขาและลุ่มแม่น้ำ บริเวณที่ยกตัวสูงขึ้นเรียกว่า ฮอร์สต์ กลายเป็นภูเขา และเทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่ม แม่น้ำแควใหญ่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อยและที่ราบลุ่มแม่น้ำ
เพชรบุรี 
เมื่อแบ่งพื้นที่ภาคตะวันตกตามระดับความสูง จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 58 เป็นภูเขาสูง ร้อยละ 23 เป็นที่ราบ และร้อยละ 19 เป็น ที่ราบเชิงเขา ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคเหนือ คือเป็นเทือกเขาสูงสลับหุบเขาแคบ ทางตะวันตกจะมีเทือกเขา สูงเป็นแนวยาวต่อเนื่อง จากภาคเหนือทอด ตัวลงไปทางภาคใต้ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล

2.เขตที่ราบ: ได้แก่ บริเวณที่อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบภาคกลางและอ่าวไทย โดยมีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางด้าน ตะวันออกของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อมายังจังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เขตนี้แบ่งออกเป็นสองเขต ย่อยได้แก่  
เขตที่ราบขั้นบันได: บริเวณที่ราบทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี เป็นที่ราบที่เกิดจากการสะสมตัว ของตะกอนโดยอิทธิพลของแม่ น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ที่ราบในเขตนี้ จะสูงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งติดต่อกับเขตเทือกเขาแล้วค่อยลาดต่ำลงมาทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ จนจดที่ราบภาคกลาง และอ่าวไทย มีลักษณะคล้ายขั้นบันได
เขตที่ราบชายฝังทะเล : บริเวณตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดเพชรบุรีเลียบชายฝั่งทะเลลงไปจนสุดเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ราบดังกล่าวนี้ เป็นที่ราบแคบๆ ยาวๆ ที่เกิดจากการกระทำของคลื่น ซึ่งเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลยกตัว
ที่มา: http://61.19.202.164/works/smtpweb52/D02/west.html#s2

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ อยู่ในจังหวัด เชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของ ประเทศคือ ยอดดอยผ้าห่มปก อยู่ในอำเภอแม่อาย มีความสูง 2,297.84 เมตร และ ยอดดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,222 เมตร เป็นอันดับ 3 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน และยังมีทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทิวเขานี้อยู่ระหว่างแม่น้ำ วังกับแม่น้ำยม ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับลาว ทิวเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อยมากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ
ส่วนพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด
แม่น้ำ
แม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 พวก ได้แก่
1. พวกที่ไหลจากเหนือลงใต้ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำตื่น แม่น้ำงัด แม่น้ำกวง แม่น้ำทา แม่น้ำวัง แม่น้ำจาง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปาด
2. พวกที่ไหลจากใต้ขึ้นเหนือ ได้แก่ แม่น้ำอิง แม่น้ำลาว แม่น้ำกก แม่น้ำจัน และแม่น้ำลี้

3. พวกที่ไหลไปลงทางด้านพม่า ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม และแม่น้ำปาย ซึ่งไหลบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน
..... ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร ,งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี
ที่มา: http://www.thairoomrate.com/north.htm

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันโอโซนโลก

ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น

เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2.เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา:
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm